สารให้ความหวานอันตราย

 

ในยุคที่เทรนด์สุขภาพมาแรง  ผู้คนเริ่มวิตกกังวลกับปริมาณที่ถูกกรุงแต่งในอาหารทั้งคาวและหวานมากมาย  แต่รสชาติความหวานคือความสุขของการกินเราจึงหาทางเลือกเข้ามาทดแทนน้ำตาลสิ่งนี้เรียกว่าน้ำตาลเทียมเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นผ่านกระบวนการทางเคมี  คุณสมบัติของมันคือการให้รสหวานแทนน้ำตาลได้แต่ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือแทบไม่ส่งผลเลยซึ่งบางชนิดแทบไม่มีแคลอรี่ กลุ่มคนรักสุขภาพจึงใช้น้ำตาลเทียมทดแทนความหวานได้อย่างไรกังวล อะไรก็ตามสิ่งนี้เปรียบเสมือนดาบสองคมเพราะภัยเงียบที่เกิดจากน้ำตาลเทียมอาจส่ง อะไรก็ตามสิ่งนี้เปรียบเสมือนดาบสองคมเพราะภัยเงียบที่เกิดจากน้ำตาลเทียมอาจส่งก็เพราะส่งผลกระทบทางอ้อมได้เช่นกัน

ส่วนประกอบหลักของน้ำตาลเทียมได้แก่ “แอสปาร์แทม” (Aspartame) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้รับความนิยมนำมาปรุงแต่งในผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย หลายๆคนเข้าใจผิดว่า แอสปาร์แทม ช่วยลดความอ้วนได้แต่ในทางกลับกันผลของมันกับกายเป็นตัวทำลายเผาผ่านจนผิดปกติซึ่งนำมาสู่โรคอ้วนได้ง่ายดาย และยังมีผลเสียข้างเคียงอีกหลายๆอย่างตามมา

ก่อมะเร็ง สารให้ความหวาน

 

  1. เป็นสารก่อมะเร็ง

แอสปาร์แตม   เกิดจากสารเคมีสามชนิดรวมกันนั่นคือกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) และเมธานอล (Methanol) สารทั้ง 3 ไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ตามปกติและหากรับประทานในปริมาณที่เกินกำหนดอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะเมธานอล  สามารถแตกตัวกลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และกรดฟอร์มิก (Formic Acid) ได้ ซึ่งเมธานอลที่อยู่ในแอสปาร์แตมมีความแตกต่างกับเมธานอลที่พบในอาหารตามธรรมชาติทั่วๆ ไปเช่นในผักและผลไม้ เนื่องจากการผลิตเมธานอลไม่ได้มีการเติมเอธานอล (Ethanol) ลงไปเพื่อป้องกันความเป็นพิษของเมธานอล ดังนั้นหากได้รับในปริมาณที่มากเกินจนร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมด อาจจะไปทำลายเนื้อเยื้อที่มีชีวิตและทำให้ DNA ในเซลล์ได้รับความเสียหาย จนอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้

 

อ้วนเพราะสารให้ความหวาน

 

2. ก่อให้เกิดโรคอ้วนและเกิดความผิดปกติของระบบเผาผลาญ

ก่อนหน้านี้น้ำตาลเทียมถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยทดแทนการบริโภคน้ำตาล แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานผู้บริโภคเริ่มรับรู้ว่า หากรับประทานน้ำตาลเทียมในปริมาณที่เกินกำหนดอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และก่อเบาหวานได้ส่วนในทางวิทยาศาสตร์แอสปาร์แทมทำให้น้ำหนักตัวของผู้รับประทานเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไปแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าแอสปาร์แตมทำให้ระดับการผลิตฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้อยากอาหารและต้องการน้ำตาลในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม

 

เซลล์สมองถูกทำลายสารให้ความหวาน3. ทำลายเซลล์สมองและก่อให้เกิดอันตรายได้

หากได้รับกรดแอสปาร์ติก(1 ใน 3 ของสารในแอสปาร์แตม) เข้าสู่เซลล์สมองในปริมาณมากส่งผลให้เซลล์สมองได้รับความเสียหายจากปริมาณแคลเซียมที่สูงเกินไปและอาจทำลายเซลล์ประสาทเสียหายจนเกิดความผิดปกติของสมองได้กรณีร้ายแรงที่สุดการได้รับมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทอย่างลมบ้าหมูหรืออัลไซเมอร์ รวมไปถึงโรคปลอกประสาทอักเสบหรือเอ็มเอส อาจเกิดความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติไปอีกด้วย

 

[cv]