คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ล้วนใส่ใจพัฒนาการ ทางด้านสมอง อารมณ์ และจิตใจเป็นหลัก และของเล่นถือเป็นสิ่งที่เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยได้เป็นอย่างดี จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งนี้เด็กเริ่มเล่นของเล่น มักจะอยู่ในวัยขวบเดือนขึ้นไป ซึ่งพ่อแม่หลายท่านมีวิธีการเลือกของเล่น แต่เคยคำนึงถึงความปลอดภัยถึงสารเคมีในของเล่นบ้างหรือไม่?
นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สมาคมอาร์นิก้า หรือ IPEN (เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม) และองค์กรณ์อื่นๆใน 26 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมูลนิธิบูรณะนิเวศ(EARTH)ในประเทศไทยได้สำรวจของเล่นและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล ที่มีสารหน่วงการติดไฟชนิดที่มีสาร โบรมีน (Brominated Flame Retardants หรือ BFRs)ซึ่งประกอบไปด้วย Rubick จำนวน 95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวน 16 ตัวอย่างได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน หวี กิ๊บ ที่คาดผม และของเล่นอื่นๆ เพื่อหาการเจือปนของ Octabromodiphenyl ether
(OctaBDE), สาร Decabromodiphenyl either(DecaBDE) และสาร Hexabromocyclododecane (HBCD) ซึ่งมีส่วนผสมของสารหน่วงการติดไฟที่มีองค์ ประกอบของโบรมีน (BFRs) ในของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล อื่นๆ นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศยังกล่าวอีกว่า มีของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกมากมายที่มี สารจำพวกนี้ปนเปื้อนสูงถึง 50 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งเป็นระดับที่สามารถทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยพบว่า ร้อยละ 90 ของตัวอย่างที่นำมาตรวจ ในจำนวน 100 ตัวอย่างนั้นมีสาร OctaBDE เข้มข้นอยู่ในระหว่าง 1 – 1,174 ppm ร้อยละ 41 หรือจำนวน 45 ตัวอย่าง มีสาร HBCD เข้มข้นอยู่ในระหว่าง 1 – 1,586 ppm, และร้อยละ 91 หรือจำนวน 101 ตัวอย่าง มีสาร DecaBDE เข้มข้นอยู่ในระหว่าง 1 – 672 ppm ซึ่งประเทศไทยนั้น มูลนิธิบูรณะนิเวศ(EARTH)ได้สุ่มตัวอย่าง Rubick จำนวน 9 ตัวอย่างพบว่า 2 ตัวอย่างนั้นมีสาร OctaBDE และ DecaBDE ปนเปื้อนในระดับสูง และ 1 ตัวอย่างมีสาร HBCD ปนเปื้อนสูง