สสนส-สารฟอกขาว

ร้านอาหารหลายๆร้าน นิยมใช้ตะเกียบไม้แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบาย และสุขอนามัยที่ดีจากตะเกียบไม้ แต่หารู้ไม่ว่าในตะเกียบก็มีสารอันตรายเช่นกัน อย่างสารฟอกขาว ซึ่งเกิดขึ้นในผู้ผลฺตตะเกียบบางรายที่ต้องการให้ตะเกียบขาวดูน่าใช้งาน

ก่อนหน้านี้ ทางสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ทำการสุ่มตรวจตะเกียบ 8 ตัวอย่าง ผลคือ ตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในตะเกียบทั้ง 8 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 19.4- 256.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อทดสอบการละลายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ออกมาจากตะเกียบโดยการนำมาแช่ในน้ำเดือดเป็นเวลา 5 นาทีแล้วนำน้ำมาตรวจวิเคราะห์พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ละลายออกมาอยู่ในช่วง 2-91.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) หรือ สารฟอกขาว คือสารเคมีในกลุ่มซัลไฟต์ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหาร ไม่ให้เป็นสีน้ำตาลเมื่อถูกความร้อน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ แบคทีเรีย และราได้เป็นอย่างดี จึงนิยมนำสารนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อเป็นวัตถุกันเสีย และป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในผักผลไม้อบแห้ง วุ้นเส้นและลูกกวาด ในอุตสาหกรรมอื่นๆก็ยังมีการนำไปผสมกับน้ำยาอัดรูป ฟอกสีผ้า กระดาษ สบู่ และอื่นๆอีกมากมาย

อย่างไรก็ตามซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ สารฟอกขาว ไม่เป็นอันตรายหากใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะร่างกายสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่จะอันตรายกับคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือแพ้ง่าย ทางองค์การอนามัยโลกค่าบริโภคต่อวัน ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน หากเกินกว่านี้ร่างกายจะสะสม

แม้ว่าการไปทานอาหารนอกบ้านแต่ล่ะครั้งจะหลีกเลี่ยงการใช้ตะเกียบไม่ได้ ผู้บริโภคอาจจะต้องสังเกตสักนิด หากตะเกียบมีเนื้อขาวจัด มีกลิ่นฉุนก็ไม่ควรใช้ หรือหันไปใช้ตะเกียบแบบล้างใช้ซ้ำได้

รับตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ

[cv]