วันที่ 11 พ.ค. พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากองค์การอาหารและยา (อย.), นายณรงค์เดช สุขจันทร์ เลขานุการฝ่ายตรวจการผลิตภัณฑ์ ฮาลาล สำนักงานคณะกรรมอิสลามประเทศไทย นำหมายค้นศาลอาญาเลขที่ 204/2561 ลงวันที่ 11 พ.ค.61 เข้าตรวจค้น บริษัท ไวทัล เฮลท์ โปรดักส์ จำกัด เลขที่ 55/31 ถนนทางหลวงชนบทสาย 3004 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี หลังสืบทรบาว่าโรงงานดังกล่าวลักลอบผลิตยาลดความอ้วน
โดยโรงงานดังกล่าวมีเนื้อที่ราว 200 ตารางวา อาคารสำนักงานสูง 3 ชั้น มีห้องแบ่งซอย 6 ห้อง ไว้สำหรับห้องผสมตัวผลิตภัณฑ์ ห้องบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมีทั้งชนิดเม็ดแคบซูน ชนิดบรรจุขวด พบห้องส่วนผสมต่างๆ เจ้าหน้าที่จึงเก็บเอกสารแบะส่วนผสมทั้งหมดไปตรวจสอบ
พล.ต.อ.วิระชัย กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากการตรวจค้นอาหารเสริมเมจิกสกิน และขยายผลไปถึงอาหารเสริม ลีน และยาลดความอ้วน ยี่ห้อต่างๆ ที่บริโภคจนเสียชีวิต โดยสืบทราบว่าโรงงานดังกล่าวเปิดมาหลายปีแล้ว เป็นโรงงานผลิตอาหารเสริม จำพวกยาลดความอ้วน จากการสุ่มตัวอย่างในอาหารเสริมที่โรงงานแห่งนี้ผลิต พบว่ามีส่วนผสมของไซบูทรามีน ที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท อาจมีผลแก่ความตาย จึงได้มาตรวจค้นที่นี่ จากการตรวจสอบเป็นโรงงานผลิตยาลดความอ้วนจริง
พล.ต.อ.วิระชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นยังพบตราฮาลาน ซึ่งเป็นตราที่บ่งบอกว่าสินค้านี้ชาวมุสลิมสามารถรถรับประทานได้ติดบนกล่องอาหารเสริม จากการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นตราฮาลานปลอม และพบสารตั้งต้นอีกหลายชนิด เป็นลักษณะเป็นยาแผนปัจจุบัน แต่ทำมาใส่ในอาหารเสริม ดังนั้นจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาและอาหาร ในฐานผลิตอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ เพระปกติแล้วห้ามนำยามามาผสมกับอาหารโดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับ ลีน ที่ข้างกล่องเขียนว่าเป็น อาหารเสริม แต่จากการตรวจสอบมีส่วนผสมของ ยาแผนปัจจุบัน คือ ไซบูทรามีน ดังนั้นจึงมีความผิดฐานเดียวกัน
ส่วนโรงงานแห่งนี้ เป็นโรงงานที่ผลิตในนามชื่อแบรนด์ต่างๆ ด้วย ซึ่งจะต้องขยายผลไปยังถึงชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตต่างๆ นั้น มีแบรนด์ใดบ้างที่ผิดกฎหมาย โดยโรงงานแห่งนี้ผลิตให้กับแบรนด์ประมาณ 2-3 แบรนด์ และมีอีกหลายแบรนด์ที่ไม่มีตรา ไม่มียี่ห้อ และไม่มี อย.
พล.ต.อ.วิระชัย กล่าวต่ออีกว่า ซึ่งจะตรวจสอบส่วนผสมต่างๆ ที่แต่ละแบรนด์ส่งมาให้ผลิต พบสูตรผลิตอาหารเสริมต่างๆ ประมาณ 3-4 แฟ้มขนาดใหญ่ เจ้าหน้าที่จะนำสูตรต่างๆ รวมไปถึงส่วนผสมและอาหารเสริมที่โรงงานแห่งนี้ผลิตกลับไปตรวจสอบว่ามีสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ หากมีก็จะดำเนินคดีกับผู้ที่สั่งผลิตยาทันที และจะตรวจสอบไปยังการขออนุญาติตั้งโรงงานว่าทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ด้วย ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการสั่งปิดโรงงาน เนื่องจากต้องรอหลักฐานการตรวจพิสูจน์ของตัวอย่างส่วนผสม ว่าสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ หากพบจะดำเนินการภายหลัง