เชื้อโรคหน้าฝน

ฤดูฝนเป็นฤดูที่มาพร้อมโรคต่างๆมากมาย ผู้ป่วยพบได้ตั้งแต่วัยเด็กถึงผู้ใหญ่ ทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความสะอาดของน้ำที่มากับฝน หลายสิ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องพบเจอในชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องระมัดระวังดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หากป้องกันได้ขอให้ป้องกันไว้ก่อน
จากกรณีที่มีชาวบ้านไปถางหญ้าที่เปียกขณะฝนตกแล้วกลับบ้านมา มีอาการแสบๆคันๆและผื่นขึ้นดังภาพ ทาง รพ.ได้ตรวจวินิจฉัยและพบว่าเป็นพยาธิชอนไซ เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อนที่ชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง โดยมักเกิดจากพยาธิปากขอที่พบในสัตว์หลายชนิด ที่พบบ่อยที่สุดคือ จากแมวและสุนัข จากสัตว์ที่กินหญ้า อย่างวัวและควาย อาการเริ่มแรกจะเห็นเป็นผื่นแดงเล็กๆ คันมาก เมื่อพยาธิเริ่มไซจึงจะเห็นเส้นแดงนูน หรือตุ่มน้ำใส ขนาด 3 มม. และยาวได้ถึง 20 ซม. คดเคี้ยวตามการไซของพยาธิ ซึ่งจะเคลื่อนไหวได้วันล่ะ 2-3 มม. โดยอาการจะเกิดขึ้นใน 1-5 วันหลังสัมผัส และอยู่ได้ 2-14 ปี หรืออาจจะนานเป็นปี แต่ไม่ได้มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากพยาธิไม่สามารถเติบโตในตัวผู้สูงอายุได้ สุดท้ายมันจะตายไปเอง แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการอื่นๆซึ่งเกิดได้น้อยมาก เช่น ชอนไชไปในปอด ทำให้เกิดอาการไอ หายใจมีเสียงวี๊ด บางคนอาจมีอาการลมพิษร่วมด้วย รักษาได้โดยให้ยาถ่ายพยาธิมากิน และบอกว่าเป็นเคสในรอบ 10 ปี

การป้องกันไม่ให้พยาธิชอนไซเข้าร่างกาย ควรสวมรองเท้าเวลาเดิน หลีกเลี่ยงการนั่งหรือสัมผัสพื้นดินหรือทรายที่เปื้อนมูลสัตว์ และควรถ่ายพยาธิให้สัตว์เลี้ยงอย่างหมาและแมว เพื่อไม่ให้มีการแพร่ปรสิตลงสู่พื้นดิน
ข้อมูล : www.thairath.co.th

[cv]