พาย่าสลิมพลัส

เวลา 11.30 น. วันที่ 16 ส.ค. 2560 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ.  , เภสัชกรประพนต์ อางตระกูล  รองเลขาเลขาธิการ อย. , พ.ต.อ.บัณฑิต ทิศาภาค รอง ผบก.ปคบ.  , พ.ต.ท.จตุรงค์ พลเกิด รอง ผกก.4 ปคบ. , พ.ต.ท.อภิชัย ไลออน รอง ผกก.4 ปคบ.  , พ.ต.ต.เกรียติคุณ การะเกษร สว.กก.4 ปคบ. ร่วมกันแถลงจับผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนและสบู่ ตรา “พาย่า สลิมพลัส(Paya Slim plus)” พร้อมของกลางมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนถึงผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน ตรา พาย่า สลิมพลัส(Paya Slim plus)” ว่ามีการโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊คและแฟนเพจโดยผิดกฏหมาย และมีผู้บริโภคได้ทำการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมา แต่เมื่อนำมาตรวจสอบพบว่า มีการนำเลขสารบบอาหารและเลขทะเบียนยาของผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่ของตนมาแอบอ้าง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย จัดเป็นยาและอาหารปลอม

 

PAYA SLIM PLUS

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ กก.4 ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย. เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้ขอหมายค้นจากศาลจังหวัดปทุมธานี เข้าทำการตรวจค้น บริษัท พญา เฮลตี้ กรุ๊ป จำกัด เลขที่ 263/166 หมู่บ้านภูมิสิริ คลอง 7 หมู่ที่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตรา “พาย่า สลิมพลัส(Paya Slim plus)” พบผู้ต้องหา นายสุธี อาจดี อายุ 30 ปี เป็นเจ้าของบริษัทฯ และเจ้าของบ้านพักที่ตรวจค้น

 

บุกจับยาลดความอ้วนพาย่า สลิมพลัส

 

ทางด้านเภสัชกร ประพนต์ เผยว่า สำหรับการตรวจค้นสถานที่ดังกล่าวแล้ว พบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์ตรา พาย่า ซึ่งทั้งหมดล้วนมีส่วนผสมของ ไซบูทรามีนที่เป็นสารประเภทหลอนประสาท ช่วยกดความรู้สึกด้านการหิวอาหาร หากรับประทานเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดอาการปากแข็ง มือสั่น ใจสั่น และอาจถึงขั้นไตวายเสียชีวิต ทั้งนี้ ตัวยาดังกล่าวนั้น ไม่ได้อยู่ในสารบบของทะเบียนยาในประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งที่ผ่านมา ทาง อย. ได้มีการประกาศเตือน และขึ้นเว็บไซต์ว่าเป็นสารอันตราย โดยหลังจากนี้จะนำของกลางทั้งหมดไปตรวจหาสารอันตรายต่อไป

 

ทลายโรงงาน Paya Slim Plus

 

เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหา จำหน่ายอาหารปลอม จำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ขายเครื่องสำอางปลอม ขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง จึงขอเตือนผู้บริโภคที่สนใจจะควบคุมน้ำหนัก อย่าตกเป็นเหยื่อของผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักไร้คุณภาพ ตามที่โฆษณาทางโซเซียลมากนัก ควรศึกษาและตรวจสอบให้แน่ชัดหรือปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน หากพบเบาะแสแจ้งได้ที่ บก.ปคบ. 1135 หรือทางเว็บไซด์  WWW.cppd.go.th หรือ สายด่วน อย.1556

 

รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริม รับตรวจไซบูทรามีน หากพบเห็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยหรือลอบใส่สารไซบูทรามีน ส่งตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ
รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริม
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องดื่ม
รับตรวจสารอันตรายในยาสมุนไพร
รับตรวจไซบูทรามีน
ร้องเรียนผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน

[cv]