ช่วงยามเย็นหลังเลิกเรียนของเด็กๆ จะมีรถเข็นของพ่อค้าและแม่ค้าตั้งเรียงรายมาขายอาหารหรือขนมหน้าโรงเรียน ให้เด็กๆได้บรรเทาความหิวได้เป็นอย่างดี เด็กๆต่างออกมาซื้อขนมอาหารกระจายตามรถเข็นกับของโปรดของตัวเอง ถึงแม้จะซื้อมารับประทานกันจนเป็นเรื่องธรรมดา แต่ผู้ปกครองจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสิ่งทีเด็กๆทานเข้าไปจะสะอาดและปลอดภัยจริง
อาหารที่ขายกันตามหน้าโรงเรียนมีหลากหลายประเทศ ทั้งของคาวของหวาน ของทอดของปิ้ง ขนมต่างๆ ล้วนแต่เป็นของที่ล่อตาล่อใจคลายหิวให้เด็กๆได้เป็นอย่างดี หากลองคำนึงถึงโทษที่จะเกิดขึ้นซึ่งถูกสะสมมาเรื่อยๆ ก็มีโทษไม่น้อยเลยทีเดียว จากการลองแยกประเภทอาหารที่เกิดความเสี่ยง พบว่ามีความแต่ล่ะชนิดมีความเสี่ยงกันไป ถึงแม้จะมีการแก้ปัญหาที่ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กๆก็เป็นไปได้ยากพอสมควร
– อาหารประเภทปิ้งย่าง
อย่างลูกชิ้นปิ้ง บาร์บีคิว หมูปิ้ง ไก่ย่าง
กลุ่มควันที่เกิดจากการปิ้งเผาไหม้อาหาร คือกลุ่มควันที่มีสารพิษ (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon) ซึ่งสารพิษชนิดนี้ เกิดจากไขมันในเนื้อสัตว์ เมื่อหยดลงไปโดนถ่านทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อร่างกายได้รับสะสมสารเหล่านี้ในปริมาณมากก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ โดยสารชนิดนี้จะพบมากในส่วนของอาหารที่ไหม้เกรียม
–อาหารประภททอด
ลูกชิ้น ไส้กรอกทอด เกี๊ยวทอด เฟรนฟรายซ์ ไก่ทอด และอื่นๆอีกมากมาย ที่ทำการทอดโดยน้ำมัน
อาหารประเภททอด จัดเป็นกลุ่มอาหารที่เด็กๆชื่นชอบ เพราะความกรอบบวกกับหน้าตาอาหารและกลิ่นช่างเย้ายวนน่ากินเหลือเกิน หากลองสังเกตน้ำมันที่ใช้สักนิด บางร้านใช้น้ำมันซ้ำจนกลายเป็นสีดำ ซึ่งน้ำมันที่ถูกนำมาทอดซ้ำ คุณภาพก็จะเสื่อมลงทั้งสี กลิ่น ความหนืด และคุณค่าของโภชนาการ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ของสารโพลาร์ (Polar) ซึ่งสารชนิดนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง อีกทั้งไอระเหยจากการทอดหากสูดดมเป็นเวลานานก็จะมีอันตรายต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคเนื้องอกในตับ ปอด และมะเร็งได้อีกด้วย
– ขนมหวานเครื่องดื่มรสหวาน
น้ำตาลปั้น ลูกอม เค้ก ชาไข่มุก น้ำสีสันต่างๆ
เหล่านี้ล้วนดึงดูดความน่ากินให้เด็กได้ต่อคิวซื้อกันมากมาย ด้วยสีสัน รูปร่างและรสชาต ซึ่งทั้งหมดต่างส่งผลเสียให้กับเด็กๆ ทั้งความหวานที่มากเกินไป เด็กอาจเข้าสู่ภาวะความอ้วน และจะกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานหนักและอาจเป็นเบาหวานได้ในอนาคต ส่วนสีที่ใช้ พ่อค้าแม่ค้าบางรายเลือกใช้สีผสมอาหารที่ถูกสังเคราะห์ทางเคมี อาจมีการผลิตที่ปนเปื้อนโลหะ อย่างตะกั่ว ปรอท สารหนู โครเมียม มีผลต่อการทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร เพราะสีสังเคราะห์จะเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้หรือหากสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานก็อาจเกิดโรคมะเร็งได้
จากการสอบถามความคิดเห็นของเด็กๆ ได้คำตอบว่าไม่อาจทราบว่าอาหารหน้าโรงเรียนนั้นอันตรายแค่ไหน แต่ถึงแม้ทางโรงเรียนจะมีนโยบายมาตรการควบคุมอาหารภายใน เพื่อให้เด็กบริโภคอาหารในโรงเรียนแทน แต่คงเป็นไปได้ยากที่จะควบคุม ทั้งเรื่องคุณภาพและความสะอาดของอาหาร รวมทั้งสารอันตรายที่เจือปน แม้แต่ผลไม้นอกจากจะล้างไม่สะอาด ยังอาจใส่สีสังเคราะห์เจือปน สารกันรา(ซาลิซิลิค) อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลเพิ่มเติม ลองทำอาหารหรือขนมรองท้องให้เด็กๆทานหลังเลิกเรียนก็ได้