กรมวิทย์ตรวจพบสารอันตราย

วันที่29 มี.ค. – นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีการแชร์ผ่านโซเชียลว่ารับประทานอาหารเสริมลดน้ำหนักชื่อดังแล้วมีอาการใจ สั่น นอนไม่หลบ แน่นหน้าอก ชาตามปลายมือ ปลายเท้า จนต้องเข้ารพ. และต่อมามีการส่งต่อข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชื่อดังยี่ห้อดังกล่าวว่ามีการลักลอบใส่สารไซบูทรามีน ว่า การตรวจวิเคราะห์สารที่อยู่ในอาหารเสริมนั้นมี 2 รูปแบบ คือ

  1. กรมวิทย์ฯ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค (สคบ.) สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด และ
  2. ที่ประชาชนส่งเข้ามาให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอาหารเสริมยี่ห้อดังกล่าวมีประชาชนส่งเข้ามาตรวจเมื่อวันที่ 18 ม.ค. พบว่ามีการปลอมปนของสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารต้องห้าม เพราะเป็นยาแผนปัจจุบันที่มีผลข้างเคียงอันตราย ที่กังวลคือทำให้หัวใจวาย ตายได้ ทั้งนี้อาหารเสริมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ห้ามใส่ยาแผนปัจจุบัน หากลักลอบใส่จะมีความผิดตามกฎหมาย ทั้งจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านในกรณีทั่วไปที่ประชาชนเป็นคนส่งมาตรวจนั้น หากพบสารอันตรายทางเจ้าของผลิตภัณฑ์มักอ้างว่าเป็นของลอกเลียนแบบ ดังนั้นกรณีนี้จะมีการร่วมกับอย.ในการตรวจล็อตอื่นๆ ต่อไปเพื่อให้ทราบผลที่แน่นอน

แหล่งข่าวในแวดวงสาธารณสุข ระบุว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจพบไซบูทรามีนนั้น เป็นผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด และขายทั่วไปในโลกโซเซียล สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย โดยลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นแคปซูลสีน้ำเงินบรรจุในแผงอลูมิเนียมแบบบิสเตอร์ และบรรจุในกล่องกระดาษสีขาว-น้ำเงิน มีส่วนประกอบสำคัญ อาทิ สารสสกัดจากส้มแขก สารสกัดจากโกจิเบอรี่ สารสกัดจากพริก สารสกัดจากชาเขียว ถั่วขาว และโคเมี่ยมอะมิโน เอซิค คีเลต เป็นต้น

อาหารเสริมพบไซบูทรามีน-ลดน้ำหนัก

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า ปกติกรมฯ มีหน้าที่ในการตรวจวิเคราะห์อาหารเสริมเหล่านี้อย่างไรก็ตามยาลดน้ำหนักมีการปลอมปนร้อยละ 13 และพบการปลอมเปื้อนตลอด ใน 6 กลุ่มคือ

  1. ยารักษาโรคสมรรถภาพทางเพศ
  2. ยาลดความอ้วน
  3. ยาลดความอยากอาหาร
  4. ยาระบายสมัยใหม่
  5. กลุ่มยาสเตียรอยด์
  6. ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า การลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญเพราะคนไทยมีปัญหาเรื่องการอ้วน ลงพุง แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือ การควบคุมอาหาร ปริมาณที่รับประทานเข้าไปอย่าให้เกินที่ร่างกายต้องการ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน พยายามออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก ส่วนเรื่องการใช้ยา หรือการทานอาหารเสริม หากจำเป็นจริงๆ หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องลดน้ำหนักก็ควรพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

อันตรายจากอาหารเสริมลดน้ำหนักที่ปสมสารไซบูทรามีน >> ผลข้างเคียงของไซบูทรามีน
รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริมหากพบเห็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยหรือลอบใส่สารไซบูทรามีน ส่งตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ

 

[cv]