6-อาหารเสริมอันตราย ไซบูทรามีน

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มทดสอบซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง ผ่านช่องทางห้างออนไลน์ชื่อดัง 8 แห่ง ได้แก่ LAZADA, C mart, 11 street, Shopee, Shop at 24, We mall, Watsons, และ Konvy ในเดือนก.พ. – มี.ค.ที่ผ่านมา จากการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม พบยา “ไซบูทรามีน” และ “ฟลูออกซิทีน” ในอาหารเสริมลดน้ำหนัก 6 ตัวอย่าง ได้แก่ AIKA, MINIMAL by FALONFON, S-Line, LYN, L-Fin by Luk-Sam-Rong และ Kalo จากห้างออนไลน์ชื่อดัง 4 แห่ง ได้แก่ LAZADA, C mart, 11 street, และ Shopee ส่วนอีก 4 แห่ง ได้แก่ Shop at 24, We mall, Watsons, และ Konvy ไม่พบยาทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว

อาหารเสริมที่ผสมไซบูทรามีน
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่บรรยายสรรพคุณว่า สามารถใช้บริโภคเพื่อการลดน้ำหนัก จำนวน 16 ตัวอย่าง จากห้างออนไลน์ชื่อดัง 8 แห่ง ผลการตรวจสอบ จำนวน 6 ตัวอย่าง พบยา ไซบูทรามีนและฟลูออกซิทีน ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร


ข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ AIKA, L-Fin และ Kalow ที่ตรวจพบไซบูทรามีนและฟลูออกซิทีนนั้น มีผู้ผลิตและผู้รับอนุญาตรายเดียวกัน คือ บริษัท สยามเฮลท์แอนด์บิวตี้แคร์ จำกัด
น.ส.สถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการผลิตภัณฑ์สุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออนไลน์ เกิดจากการใช้ข้อความโฆษณาเกินจริง ซึ่งผู้บริโภคไม่มีแหล่งตรวจสอบข้อความโฆษณาว่า คำโฆษณากล่าวอ้างบรรยายสรรพคุณนั้นๆ ได้รับอนุญาต หรือเกินจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบออนไลน์ อีกด้วย รวมไปถึงค่านิยมผอม ขาว การโฆษณากระตุ้นให้อยากขาว สวย ผอม เหมือนเน็ตไอดอล หรือศิลปินดาราที่เป็นคนนำเสนอสินค้า

ตัวอย่างอาหารเสริมไม่พบสารอันตราย
นอกจากนั้น น.ส.สถาพร รายงานเพิ่มเติมว่า ยังได้สำรวจข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 มิ.ย. 2561 พบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจพบสารประกอบอันตรายไซบูทรามีน และฟลูออกซิทีน ทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์ ยังพบการขายในร้านค้าออนไลน์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ ลีน (Lyn) ที่ทาง อย. ได้ประกาศว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ และยกเลิกเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์แล้ว อีกทั้งผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ยังเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 4 ราย จึงขอเรียกร้องให้ทาง หน่วยงานกำกับดูแลหลัก (อย.) และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายโดยทันที

มพบ.
โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะต้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการออนไลน์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 15 – ผู้ให้บริการ หรือ ผู้ดูแลระบบ หรือแอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการนำเข้าข้อมูล เมื่อพบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบออก ไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าไม่ยอมลบออก โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา newtv

[cv]