อาหารเสริมสรรพคุณหลากหลายที่ขายกันทั่วไป หนึ่งสิ่งที่เป็นที่นิยมสุดๆ คือ อาหารเสริมประเภทลดน้ำหนัก โดยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่ต้องการหุ่นดีแต่ขี้เกียจออกกำลังกาย และหันมาใช้วิธีลัดแบบผิดๆ และบางยี่ห้อระบุเรื่องการช่วยลดน้ำหนักแบบถาวร ไม่เกิดอาการโยโย่ ผอมเร็ว และยังมีหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงอันตรายที่จะตามมา ซึ่งเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง บางรายกินแล้วใจสั่น ใจเต้นเร็ว คอแห้ง และยิ่งไปกว่านั้นยังเคยมีข่าวผู้เสียชีวิตจากการทานยาลดความอ้วน ซึ่งวันนี้เราจะมาให้ข้อมูลถึง สารอันตรายในอาหารเสริม ที่สามารถทำอันตรายต่อชีวิตเราได้ มีดังนี้
- ไซบูทรามีน (Sibutramine)
เป็นสารอันตรายในอาหารเสริม ระดับต้นๆ ที่เรารู้จักกันดี เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้รู้สึกไม่หิวหรืออิ่มไวขึ้น อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ ท้องผูก ปากแห้ง ปวดและวิงเวียนศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและไขข้อตามตัว ร่างกายบวมน้ำ หอบเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ กระสับกระส่าย นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการชัก การมองเห็นผิดปกติ - ยาขับปัสสาวะ
เป็นยาที่ขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย โดยการขับโซเดียมคลอไรด์ออกทางไต ทำให้ปริมาณน้ำในโซเดียมคลอไรด์ลดลง การใช้ยาชนิดนี้โดยหวังผลลดน้ำหนัก ผลเสียคือ ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่จำเป็นออกไปกับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหัวใจและสมอง อาจหัวใจวายหรือหมดสติได้ ซึ่งในความเป็นจริงการขับน้ำในร่างกายทำให้น้ำหนักลด ปริมาณน้ำในร่างกายหายไปแต่ไขมันยังคงอยู่ - เฟนเทอร์มีน (Phentermine)
เป็นสารอันตรายที่ออกฤทธิ์กับสมอง โดยการต้านความหิวในสมอง ทำให้ร่างกายไม่อยากอาหาร อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือกระวนกระวาย ปากแห้ง ปวดวิงเวียนศรีษะ ตัวสั่น ใจเต้นผิดปกติ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ความดันโลหิตสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกิดอาการชัก จิตหลอนหรือเกิดภาพหลอน - ไทร็อกซีน (Thyroxine)
เป็นสารที่ใช้กับผู้ป่วยโรคไทรอย์ฮอร์โมนต่ำ จะช่วยปรับระดับเผาผลาญพลังงาน สังเคราะห์และทำลายในระดับเซลล์ โดยอาการข้างเคียงคือปวดศรีษะ หงุดหงิด น้ำหนักตัวลด เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญ ถึงแม้น้ำ
หนักจะลด แต่ไขมันยังคงอยู่ - ออริสแตท (Orlistat)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยาดักไขมัน จะช่วยดักไขมันของไขมันที่ทานไปได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย และปัจจุบันพบว่าออริสแตทถูกลักลอบนำมาผสมในอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งทาง อย. ยังไม่ได้มีการอนุญาตอย่างเป็นทางกออริอารเพราะยังมีผลข้างเคียงที่ต้องผ่านการดูแลจากแพทย์โดยเฉพาะ
ทั้งนี้แม้ว่าอาหารเสริมที่ขายในท้องตลาดหรือตามสื่อออนไลน์จะมีมากมาย บางรายลักลอบใส่สารอันตรายดังที่เป็นข่าวให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นหากต้องการทานยาลดความอ้วน ผู้บริโภคจึงควรตรวจเช็คว่าอาหารเสริมนั้นมี หมายเลข อย. หรือไม่ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการทานยาลดน้ำหนักแบบถูกกฏหมายนั้นก็มี แต่ขอให้เป็นการควบคุมและดูแลโดยแพทย์จะดีกว่า
รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริมหากพบเห็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยหรือลอบใส่สารอันตรายในยาลดความอ้วน ส่งตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ
รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริม
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องดื่ม
รับตรวจสารอันตรายในยาสมุนไพร
รับตรวจไซบูทรามีน
ร้องเรียนผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน