ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์มีมาให้เห็นอยู่เรื่อยๆ และกลับมาระบาดอีกครั้ง ตามข่าวที่นำเสนอกันอย่างครึกโครม ที่น่าตกใจยังพบมิจฉาชีพข้ามชาติที่หลอกลวงผ่านโทรศัพท์ ซึ่งยังมีเหยื่อที่หลงเชื่อจากความหวาดกลัวและความโลภอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมีสถิติความเสียหายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาหนักที่ควบคุมยากจึงต้องขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อแก๊งต้มตุ๋นเด็ดขาด แม้จะอาจต้นเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ตาม

 

แผนที่แก๊งคอลเซนเตอร์เริ่มจากการสุ่มเบอร์โทรศัพท์และใช้ข้อความอัตโนมัติ หรือโทรผ่านระบบ VOIP (Voice over IP) เพื่อแปลงสัญญาณปลอมเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานรัฐหรือสถาบันการเงิน หลอกให้เหยื่อโอนเงินไปยังบัญชีของมิจฉาชีพ โดยมีข้ออ้างหลอกโอนเงิน 6 ข้อที่พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นข้ออ้างหลอกเหยื่อแน่นอน

แก๊งคอลเซนเตอร์1.บัญชีเงินฝากคุณถูกอายัด หรือติดหนี้บัตรเครดิต

แน่นอนว่าเป็นข้ออ้างที่นิยมและใช้ได้ผลที่สุด เพราะทำให้เหยื่อเกิดอาการระแวงจนต้องโอนเงินตามที่มิจฉาชีพอ้าง ขั้นตอนคือใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติและหากเหงื่อหลงเชื่อทำร้ายการ มิจฉาชีพจะแฝงตัวเป็นคอลเซ็นเตอร์ หลอกถามฐานะทางการเงินและหลอกให้โอนเงินหรือฝากเงินผ่านตู้อัตโนมัติ

โทรหลอกเหยื่อ2.บัญชีของคุณพัวพันกับคดีผิดกฏหมาย

โดยมิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อขอตรวจสอบข้อมูล และแจ้งว่าบัญชีของเหยื่อพัวพันกับคดีการค้ายาเสพติดหรือฟอกเงิน ต่างๆนาๆ จึงทำให้เหยื่อเกิดความกลัว จึงหลอกให้เหยื่อโอนเงินมาในบัญชีที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นบัญชีแอบอ้างจากมิจฉาชีพ

โทรหลอก3.คุณเป็นผู้โชคดี

หลายๆคนคงเคยเจอระบบอัตโนมัติที่โทรเข้ามาแจ้งว่า คุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล ซึ่งส่วนที่ทางมิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรต่างๆ และหลอกให้เหยื่อโอนเงินค่าภาษีก่อนมารับรางวัลจริง

หลอกคืนเงินภาษี4.เงินคืนภาษี

ซึ่งจะระบาดช่วงการยื่นภาษีขอคืนเงิน โดยมิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าทีสรรพากรแจ้งว่าเหยื่อได้รับเงินคืนภาษี ซึ่งต้องยืนยันรายการตามคำที่บอกหน้าตู้ ATM แท้จริงแล้วนั้นกลับเป็นขั้นตอนการโอนเงินให้แก๊งคอลเซนเตอร์นั่นเอง

หลอกโอนเงินผิด5.หลอกว่ามีการโอนเงินผิด

วิธีนี้มิจฉาชีพอาจจะมีการเลือกเหยื่อไว้แล้วระดับหนึ่ง เพราะต้องรู้ข้อมูลเหยื่อมาบ้าง โดยจะทำการโทรติดต่อสถาบันการเงินที่เหยื่อใช้บริการอยู่ เพื่อขอสินเชื่อผ่านทางโทรศัพท์ เมื่อธนาคารสอบถามข้อมูลส่วนตัวจนแน่ใจว่าเป็นตัวจริง ก็จะอนุมัติวงเงินและโอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชีเงินฝาก หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะโทรกลับหาเหยื่อและแจ้งว่ามีการโอนเงินผิดและขอให้โอนเงินคืน ซึ่งเงินก้อนนั้นคือเงินที่ขอสินเชื่อในนามของเหยื่อนั้นเอง

หลอกเอาข้อมูล6.ข้อมูลส่วนตัวหาย

มิจฉาชีพจะสวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ทางการเงิน พร้อมแจ้งเหตุการณ์ที่ทำข้อมูลเหยื่อหาย และข้อให้เหยื่อยืนยันข้อมูลส่วนตัวเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล จากนั้นมิจฉาชีพจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมแปลงเอกสาร หรือใช้บริการทางการเงินในนามของเหยื่อ

 

[cv]