อันตรายจากฟอร์มาลีน

สิ่งแรกเมื่อได้ยินคำว่าฟอร์มาลีน หลายๆคนคงนึกถึงน้ำยาอาบศพ ที่เห็นได้ตามโรงพยาบาลคุณสมบัติของฟอร์มาลีน คือช่วยของสภาพศพไม่ให้เน่าเปื่อย ฆ่าเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกภายในห้องผ่าตัด  นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า กาวและพลาสติกอีกด้วย ดูเหมือนฟอร์มาลีนจะเป็นสารเคมีที่เป็นประโยชน์มาก แต่เมื่อถูกนำมาใช้แบบผิดวัตถุประสงค์เช่นนำมาถนอมอาหาร ก็เกิดผลเสียกับผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน

อาหารที่มีการปนเปื้อนฟอร์มาลีนมากที่สุดคืออาหารทะเล เพราะอาหารทะเลที่ทิ้งไว้นานหรือมีความเย็นไม่เพียงพอก็จะเน่าเสีย ผู้ประกอบการหรือชาวประมงจึงมักใช้วิธีแช่ฟอร์มาลีนเพื่อคงสภาพ เช่นเดียวกับเนื้อสัตว์หรือผัก และแน่นอนว่าฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนมากับอาหารมีข้อเสียมากมาย

  1. ผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร. ผู้ที่รับสารฟอร์มาลีนเข้าไปเป็นจำนวนมากจะมีอาการปากคอแห้งปกติขึ้นไส้อาเจียนท้องเสียใครอาหารเป็นพิษนอกจากนั้นยังมีอาการแพ้ปวดท้องอย่างรุนแรงเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือกระเพาะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลวจนขาดสติ  การทำงานของอวัยวะภายในทั้งตับ หัวใจและสมอง จะเสื่อมลงหรืออาจเสียชีวิตได้ทันที
  2. ผลเสียต่อผิวหนัง เมื่อร่างกายได้รับพิษจากฟอร์มาลีน ผิวหนังจะเป็นอวัยวะส่วนแรกที่เกิดอาการแพ้ อาการเริ่มต้นคือผื่นขึ้น ลักษณะผื่นจะคล้ายอาการลมพิษ อาจจะเป็นรอยแดงหรือเป็นผื่นไหม้
  3. ผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมฟอร์มาลีนติดต่อกันหลายชั่วโมงอาจเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุโพรงจมูก (อาจเกิดการระคายเคืองบริเวณรอบดวงตาหรือผิวหนังร่วมด้วย) ในกรณีที่แพ้หนักอาจเกิดภาวะหายใจไม่ออกแน่นหน้าอก น้ำท่วมปอดจนเสียชีวิตในที่สุด และหากได้รับสารเคมีเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะเริ่มต้นของหลอดลมอักเสบได้เช่นกัน
  4. เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง จากวิจัยพบว่าฟอร์มาลีนและสารฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นตัวการก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและตับ โดยเมื่อร่างกายได้รับสารเข้าไปสารเหล่านี้จะถูกนำไปกำจัดที่ตับและหากกำจัดไม่หมดอาจจะเกิดสะสมจนเป็นมะเร็งได้

อย่างไรก็ตามแม้ฟอร์มาลีนจะเป็นสารต้องห้าม แต่ยังมีการลักลอบใส่ในอาหารสดอยู่เสมอ ดังนั้นผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารให้มาก ควรตรวจสอบและสังเกต ถึงแม้เราจะไม่สามารถแยกอาหารที่ถูกแช่ฟอร์มาลีนด้วยตาเปล่า แต่สำหรับพืชผักอย่าลืมล้างน้ำหรือหากไม่รีบให้แช่ด้วยน้ำส้มสายชูด่างทับทิมเพื่อลดความรุนแรงของสารฟอร์มาลีน ในส่วนของเนื้อสัตว์ก่อนรับประทานขอให้ล้างให้สะอาดและเมื่อนำไปประกอบอาหาร ควรใช้ความร้อนที่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อ

 

[cv]