สำหรับแชร์ลูกโซ่ที่เป็นประเด็นเรื่องการถูกหลอกลวงกันมาอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายให้ประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อจำนวนไม่น้อย แฝงมาในแบบแผนธุรกิจต่างๆ เป็นขบวนการหลอกล่อต้มตุ๋นให้เหยื่อควักกระเป๋ามาลงทุน ซึ่งขอแนะนำข้อสังเกตคร่าวๆไว้ดังนี้

แชร์ลูกโซ่ สื่อโซเซียล
1.ใช้สื่อโซเซียลล่อเหยื่อ โดยจะเล็งกลุ่มนักศึกษาเป็นหลัก ถึงแม้ทุนจะไม่หนามาก แต่ยังเป็นกลุ่มที่หลงเชื่อได้ง่าย อยากสบาย และเชื่อใจคนง่ายจึงถูกหลอกได้โดยง่าย โดยวิธีการชักชวนจากเพื่อนรุ่นพี่ที่เป็นไอดอล แชร์ภาพชีวิตสวยหรู ท่องเที่ยวต่างประเทศ แชร์รายได้และยืนยันว่าไม่หลอกลวงได้ผลตอบแทนจริง โดยเป็นธุรกิจขายผลิตภัณฑ์และให้หาสมาชิกเพิ่ม


2.
ฌาปนกิจสงเคราะห์เถื่อน หลอกให้ประชาชนสมัครสมาชิก โดยอ้างสิทธิ์หากเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย แต่เมื่อเหยื่อเสียชีวิตแล้ว ญาติกลับไม่ได้ค่าตอบแทนใดๆตามที่กล่าวอ้าง ถือว่าทำผิด ...การฌาปนกิจสงเคราะห์ หากมีผู้ใดแอบอ้างว่าสมาคมดังกล่าวมีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศอย่าหลงเชื่อโดยเด็ดขาด เบื้องต้นควรตรวจสอบว่าสมาคมมีการจดทะเบียนอยู่จริงหรือไม่ และการการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ถูกกฏหมาย จะรับได้เพียงสมาชิกท้องถิ่นเท่านั้น ไม่สามารถข้ามเขตหรือหาทั่วประเทศได้


3.
อ้างบริษัทขายตรงบังหน้า  ยังมีบริษัทขายตรงมากมายที่ดำเนินธุรกิจแบบถูกต้องตามกฏหมาย แต่ในทางกลับกันก็ยังมีกลุ่มมิจฉาชีพนำรูปแบบการจัดตั้งบริษัทขายตรงเพื่อมาใช้หลอกลวงผู้เสียหาย ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การหาสมาชิกและจ่ายเงินค่าสมัคร และนำสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาเป็นข้ออ้างในการขาย ซึ่งหากคิดจะลงทุนกับธุรกิจนี้ขอแนะนำให้ตรวจว่าได้รับใบอนุญาตจาก สคบ. จริงหรือไม่ รวมถึงตรวจความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่นำมาขายว่าผ่าน อย. หรือ สคบ. หรือไม่ หากพบความผิดปกติขอเตือนว่าอย่าลงทุนเด็ดขาดเพราะคุณอาจกลายเป็นเหยื่อไม่รู้ตัว

 

4. อ้างกองทุน Forex กองทุนนี้ได้รับความนิยมในต่างประเทศมาก แต่ในไทยบอกได้ว่ายังมีความเสี่ยงสูง แถมมีมิจฉาชีพบางกลุ่มชักชวนให้สมาชิกระดมเงินมาลงทุน Forex โดยเสนอผลตอบแทนสูง ที่ผ่านมาพบว่าเมื่อระดมทุนได้มากแล้ว มิจฉาชีพก็จะหอบเงินหนี หากคิดจะเทรด Forex จะต้องดำเนินการด้วยตัวเองเท่านั้นและต้องมีเอกสารการเทรด ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพจะเขียนโปรแกรมหลอกว่าดำเนินการเทรด Forex ในตลาดสากล แต่ในความจริงเป็นแค่การหลอกลวงเหยื่อให้ตายใจเท่านั้น



5.
อ้างลงทุนหุ้นต่างประเทศ กลุ่มมิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อนำเงินมาลงทุน ระดมทุนโดยการหาสมาชิก ระยะแรกจะจ่ายค่าตอบแทนสำหรับการแนะนำสมาชิกเพื่อให้เหยื่อตายใจ แต่ในความจริงการลงทุนจะไม่มีค่าตอบแทนค่าแนะนำสมาชิกใดๆทั้ง
สิ้น


6.
อวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์รักษาโรค ขบวนการรูปแบบนี้ถือได้ว่าระบาดในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยหลอกลวงเงินชาวบ้านได้จำนวนมาก ใช้ความเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือหลอกให้เชื่อว่ามาผลิตภัณฑ์รักษาโรคได้จริง และโฆษณาว่าขายดี จึงมีสมาชิกร่วมลงทุนจำหน่าย

 


7.
หลอกลงทุนสินค้าเกษตรเป็นตัวล่อ เช่นยางพารา ข้าวสาร ปุ๋ย ชักชวนประชาชนร่วมลงทุนกับบริษัทฯ โดยการหาสมาชิกและระดมเงินทุน อ้างผลตอบแทนอัตราสูงกว่าท้องตลาด  เมื่อระยะเวลาผ่านไปผู้เสียหายกลับไม่ได้เงินตามที่โฆษณาไว้


8.แชร์ท่องเที่ยว  อ้างแผนการเดินทางท่องเที่ยวราคาถูก  และให้ผลตอบแทนสมาชิกที่สามารถชักชวนคนมาซื้อทัวร์ หรือลงทุน และจะมีการจ่ายค่าตอบแทนเหมือนกับค่านายหน้า

 

9.แชร์สกุลเงินดิจิทัล มักจะหลอกลวงเหยื่อให้ร่วมลงทุนในสกุลเงินที่ยังไม่ได้รับการรองรับจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะอ้างเป็นสกุลเงินรูปแบบใหม่ของต่างประเทศ หากเจอการชักชวนในลักษณะนี้ให้หลีกเลี่ยงทันที เพราะหากเกิดความเสียหาย ก็ไม่สามารถเรียกหรือตามทรัพย์สินคืนมาได้

ทั้งนี้รูปแบบการหลอกลวงแชร์ลูกโซ่อาจมีการปรับเปลี่ยนตามยุคตามสมัย แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างจากข้อมูลข้างต้นนัก หากไม่อยากถูกหลอกขอเตือนให้ป้องกันการหลอกลวง และหากคิดจะลงทุนควรศึกษาให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจ

[cv]