สารปรอท (Mercury) คือ โลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินในเหมือง โดยการนำหินนั้น นั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 35.7 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูงถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ ได้ มีลักษณะคล้ายตะกั่ว และแต่ปรอทจะไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เดิมทีสารปรอทถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ นอก จากนี้ ปรอทจะมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิตเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง
แต่ยังพบว่าปรอท เคยถูกใช้เป็นสารผสมในเครื่องสำอางมาประมาณ 100 กว่าปี เพราะสารประกอบในปรอท มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์เมลานินที่สร้างเม็ดสีในผิว จนกระทั่งเมื่อ 40 ปีก่อน สหรัฐเริ่มแบนการผสมสารปรอทในเครื่องสำอาง เพราะพบพิษจากปรอทซึ่งเข้าสู่ร่างกายได้โดย การซึมผ่านผิวหนัง และการระเหยเป็นไอแล้วหายใจเข้าไป ดังนั้นคนที่ได้รับพิษจะเป็นคนที่ทาเครื่องสำอางใส่ปรอทที่ตนเอง และคนรอบตัวโดยเฉพาะเด็ก ๆ แต่ก็ยังมีผู้ผลิต พ่อค้าแม่ค้าบางราย ลักลอบใส่สารปรอทลงไป ทั้งที่รู้ว่าสารปรอทอันตราย และไม่ผ่าน อย. ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นครีมสี ครีมเถื่อน ครีมปรอท ครีมไม่ได้มาตรฐาน ครีมเร่งขาว ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย.
ผลข้างเคียงจากการใช้ครีมที่มีสารปรอท
- อาจก่อให้เกิดอาการแพ้เกิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- ผิวหนังเกิดอาการคันระคายเคืองหรือเกิดการไหม้ ผิวจะบาง แดง แพ้
- ทำให้ผิวคล้ำลงกว่าเดิม จนผิวหน้ากลายเป็นสีปรอทหรือสีดำอมเทา
- หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเกิดการสะสมของสารปรอทอยู่ใต้ผิวมีโอกาสที่จะซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เสียความควบคุม เสียการรับรู้ เช่นการมองเห็น และการได้ยิน
- ในกรณีที่มารดาที่ตั้งครรภ์และได้รับสารปรอท ปรอทจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไปสู่ทารก ทำให้สมองพิการและปัญญาอ่อน
วิธีการตรวจสอบครีมที่ใส่สารปรอทเบื้องต้น
การทดสอบแบบที่ 1
- ให้นำผงซักฟอกมาผสมกับน้ำเปล่า แล้วคนให้เข้ากันจนมีลักษณะข้น คล้ายกับครีม
- จากนั้นนำครีมหน้าใสที่ต้องการทดสอบ มาป้ายไว้บนกระดาษทิชชู หรือสำลี
- ให้เทน้ำผงซักฟอกที่ผสมน้ำแล้วลงบนกระดาษทิชชู หรือสำลีที่ป้ายครีมนั้นไว้ แล้วรอประมาณ 5 นาที
หากพบว่าสำลีส่วนนั้นเปลี่ยนสีไปเป็นสีน้ำตาล แสดงว่าครีมหน้าใสตัวนั้นมีสารปรอทผสมอยู่
การทดสอบแบบที่ 2
นำครีมทาบริเวณท้องแขน แล้วเอาพลาสเตอร์ปิดทับไว้ แล้วก็นำพลาสเตอร์อีกอันมาแปะบนผิวใกล้ ๆ กัน แปะไว้ประมานครึ่งวัน หรือ 12-24 ชั่วโมง จึงแกะออก หากผิวบริเวณที่ทาครีมขาวซีดมากกว่าบริเวณที่ไม่ได้ทาครีมแสดงว่ามีสารปรอทเจือปน
การทดสอบแบบที่ 3
นำครีมทาลงบนมือแล้วใช้ทองแท้ถูลงบนมือ หากครีมเปลี่ยนเป็นสีดำ แสดงว่า มีสารปรอทเจือปนอยู่ แต่ถ้าไม่มีไรเกิดขึ้นแสดงว่าไม่มีสารปรอทเจือปน
ดังนั้นเมื่อเลือกครีมหรือเครื่องสำอาง จึงไม่ควรหลงเชื่อเพียงเพราะคำโฆษณาชวนเชื่อ หรือรีวิวเท่านั้น ควรเช็ค หรือตรวจสอบเลขหมาย อย. จากเว็ปไซต์ เพราะครีมกระปุกบางเจ้า อาจเขียนหมายเลข อย. ปลอม
ตรวจสอบรายชื่อครีมอันตราย >> ครีมอันตราย
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอางหากพบเห็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยหรือลอบใส่สารปรอท ส่งตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ
รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริม
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องดื่ม
รับตรวจสารอันตรายในยาสมุนไพร
รับตรวจไซบูทรามีน
ร้องเรียนผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน