รับตรวจคาเฟอีน

ถึงแม้ว่าทุกคนจะทราบดีว่าคาเฟอีนมีอันตรายอยู่บ้าง และถูกผสมในเครื่องดื่มและอาหารหลายประเภท แต่นั้นไม่ได้ทำให้รู้สึกอยากเลิกบริโภค ถึงแม้รู้แก่ใจว่าไม่ดี แต่ก็ขาดไม่ได้ คาเฟอีนจัดเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มแซนธีนส์ (Xanthines) มีลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี มีรสขม ผสมอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลม ขนม ไอศครีม และอื่นๆ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของสมอง ขยายหลอดลม และขับปัสสาวะ

caffeine-bad
คาเฟอีนส่วนใหญ่ผสมในกาแฟ

เมื่อร่างกายได้รับสารคาเฟอีนจะออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายประมาณ 3-6 ชั่วโมง และหากได้รับคาเฟอีนเข้าไปขณะท้องว่างหรือกำลังหิว ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดภายใน 30 นาที จึงทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าหลังจากได้รับคาเฟอีน นอกจากนี้ยังกระจายไปยังสมอง หัวใจ ตับ ไต อย่างรวดเร็ว

อันตรายจากการที่ร่างกายได้รับสารคาเฟอีน

  1. ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อดื่มคาเฟอีน ร่างกายจะเพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ จึงควรหลีกเลี่ยงกาแฟทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  2. ส่งผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต โดยคาเฟอีนจะไปกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง ตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสูงกระแสเลือดเร็วขึ้น กล้ามเนื้อตื่นตัวพร้อมทำงานตลอด และยังกระตุ้นการหลั่งสารโดปามีน ทำให้รู้สึกผ่อนคลายอยู่เล็กน้อย จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ติดคาเฟอีน
  3. ส่งผลเสียต่อสมอง เพราะคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นสมองอยู่แล้ว ผู้ที่บริโภคจึงรู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้สึกง่วง เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนเปรียบเสมือนเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะดื่มแล้วจะทำให้มีแรงในการทำงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อได้รับในปริมาณที่สูง จะทำให้มือสั่น นอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวล และอาจถึงขั้นชักได้
  4. ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ คาเฟอีนจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัว จึงขยายเวลาในการทำงานเพิ่มขึ้น และลดเวลาในการนอนหลับให้สั้นลง 
  5. ส่งผลเสียต่อกระดูก การดื่มคาเฟอีนทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม กระดูกเปราะบาง หักง่าย โดยเฉพาะเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ดูแลรักษากระดูก
  6. ากดื่มคาเฟอีนในปริมาณ 200-500 มิลลิกรัม จะทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด เพราะสมองถูกกระตุ้นมากเกินไป กระวนกระวาย มือสั่น
  7. หากดื่มคาเฟอีนปริมาณ 1000 มิลลิกรัม อาจเกิดพิษเฉียบพลัน จะมีไข้สูง วิตกกังวล พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หรืออาการรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิต คือการชักแบบต่างๆ (ชักกระตุก ชักเกร็ง) หลังแอ่น ปอดแฟบ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติและเสียชีวิตจาก ภาวะการหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวขึ้นได้
คาเฟอีนในเครื่องดื่ม
กราฟแสดงส่วนผสมของคาเฟอีนในเครื่องดื่ม

คาเฟอีนไม่ได้อยู่แค่ในกาแฟ และเป็นหนึ่งในส่วนผสมของเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อคโกแลต ไอศกรีม หรือแม้แต่ในยาแก้ปวด ในยาแก้ปวด 2 เม็ดจะมีปริมาณคาเฟอีนสูงถึง 130 มิลลิกรัม เนื่องจากคาเฟอี­น­มีฤทธิ์ระงับอาการปวดได้ เพียงแต่ต้องใช้ในปร­ิมาณที่ฉลากหรือเภสัชกรกำหนดเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากเราหลีกเลี่ยงหรือขาดไม่ได้ อย่าน้อยลดปริมาณคาเฟอีน เพื่อสุขภาพของเราดีกว่า

รับตรวจสารอันตรายในเครื่องดื่ม หากพบเห็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยหรือลอบใส่สารคาเฟอีนเกินขนาด ส่งตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ
รับตรวจสารอันตรายในอาหารเสริม
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง
รับตรวจสารอันตรายในเครื่องดื่ม
รับตรวจสารอันตรายในยาสมุนไพร
รับตรวจไซบูทรามีน
ร้องเรียนผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน

[cv]