สารอันตรายในครีม

ในชีวิตประจำวันปัจจุบัน โดยเฉพาะสาวๆครีมและเครื่องสำอางคงจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสีฟัน ครีมกันแดด ครีมบำรุงหรือเครื่องสำอาง สิ่งเหล่านี้ล้วนผลิตจากสารเคมีที่ไม่ได้สังเคราะห์โดยธรรมชาติ สารบ้างตัวหากได้รับในปริมาณมากก็อาจเป็นอันตราย สิ่งที่น่ากลัวสำหรับผู้บริโภคคือการที่เราไม่รู้เลยว่าครีมหรือเครื่องสำอางที่ซื้อมามีส่วนผสมของสารอันตรายในเครื่องสำอางอยู่หรือไม่ และยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้ผลิตไร้สามัญสำนึกอีกมากมายที่แอบใส่สารอันตรายลงไปเพื่อให้ครีมเห็นผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ผลข้างเคียงที่ตามมา ยากเกินกว่าจะแก้ไข

สเตียรอยด์-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
สเตียรอยด์-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  1. สารสเตียรอยด์ (Steroids)
    นับเป็นสารอันตรายที่พบบ่อยในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ช่วยให้ผิวหน้าใสขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้สิวหายไว แต่เมื่อหยุดใช้สิวจะเห่อขึ้นมามากกว่าเดิม หรือผิวแตกลายเป็นรอยแดง ยับยั้งการเติบโตในเด็ก อาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ รวมทั้งไปกดภูมิคุ้มกันโรค จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ

    ปรอท-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
    ปรอท-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  2. สารปรอท (Mercury)
    พบมากในเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว ช่วยให้สีผิวขาวขึ้นไว ลดฝ้า กระ และลดสิว ได้อย่างรวดเร็ว หากหยุดใช้ผิวจะคล้ำลงกว่าเดิมจนเป็นสีปรอทหรือสีดำอมเทา หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจซึมเข้าสู่กระแสเลือดและทำลายระบบประสาทส่วนกลาง

    ไฮโดรควิโนน-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
    ไฮโดรควิโนน-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  3. ไฮรโดรควิโนน  (Hydroquinone)
    ไฮโดรควิโนน เป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกสีผิว ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือกดกระบวนการทางเคมีของเซลล์สร้างเม็ดสี หรือทำให้ฝ้าจางลงไปได้อย่างรวดเร็ว จึงมักถูกผสมเพื่อเป็นครีมรักษาฝ้า หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดอาการระคายเคือง สีผิวไม่สม่ำเสมอ และหน้าบางไวต่อแสงแดด

    สารตะกั่ว-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
    สารตะกั่ว-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  4. สารตะกั่ว (Lead)
    พบมากในเครื่องสำอางโดยเฉพาะลิปสติกสารตะกั่วจัดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ เพราะเนื่องถ้าหากถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จะก่อให้เกิดอาการปวด บิดในท้องอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ  ร่วมกับอาการท้องผูก หรือไม่ก็ถ่ายเป็นเลือดอาจมีอาการซีด อ่อนแรง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วขึ้น และลดอัตราการสร้างเม็ดเลือดแดง ระบบประสาททั่วร่างกายผิดปกติ

    โซเดียมซัลเฟต-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
    โซเดียมซัลเฟต-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  5. โซเดียมซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulphate)
    พบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย อย่าง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม สารโซเดียมซัลเฟต สามารถแทรกซึมลงไปในชั้นผิวได้ถึง 5 – 6 มม.ส่งผลให้ผิวหนังบางลงจนทำให้สารพิษ อื่นๆ สามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังจนเกิดอาการแพ้ได้

    สารPVP-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
    สาร PVP สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  6. สาร PVP(Polyvinyl Pyrrolidone)
    พบในน้ำยาสเปรย์จัดแต่งทรงผม ลักษณะคล้ายกาว เป็นสารที่ทำให้เส้นผมแข็งตัว ใช้ผสมในน้ำยาจัดแต่งทรงผม มูส/เจลใส่ผมเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลาย  สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดม และการซึมเข้าทางผิวหนัง ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน ผมร่วง เกิดการแพ้หรืออักเสบบริเวณหน้าผาก ข้างหู คอ

    สารอันตรายในเครื่องสำอาง-เรตินอล
    กรดเรติโนอิก-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  7. กรดเรติโนอิก(Retinoic acid)
    กรดเรติโนอิก กรดเรตินอล หรือ กรดวิตามินเอ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาเท่านั้น สำหรับการผลิตครีมต่างๆ ยังนับเป็นสารอันตรายในเครื่องสำอาง พบได้ในยารักษาสิว ช่วยผลัดเซลล์ผิว หากนำมาใช้เองอาจเกิดอาการผิวหนังลอก เป็นผื่นแดง

    สารทัลคัม-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  8. แป้งทัลคัม(Talcum)
    พบในแป้งฝุ่น อายแชโดว์ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น หากสูดดมเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดโรค ปอด มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมหมวกไตชนิดหายาก และมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งรังไข่ถึง 30–60% ในกลุ่มของผู้หญิงที่ใช้แป้งฝุ่นทาตัวที่ผสม Mineral Talc เป็นประจำ

    สารพาราเบน-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
    สารพาราเบน-สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  9. สารพาราเบน (Paraben)
    เป็นสารอันตรายที่ใช้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอางและโรลออนระงับกลิ่นกาย ยับยั้งสิ่งสกปรกได้ดี แต่ง่ายต่อการสะสมในร่างกาย และซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วปัจจุบันครีมและเครื่องสำอางหลายชนิดที่ไม่ได้มาตรฐาน แอบลักลอบใส่สารอันตรายในเครื่องสำอางเป็นจำนวนมากปัจจุบันครีมและเครื่องสำอางหลายชนิดที่ไม่ได้มาตรฐาน แอบลักลอบใส่สารอันตรายในเครื่องสำอางเป็นจำนวนมาก ดังนั้นก่อนจะใช้ครีมชนิดใดๆ ผู้ใช้ควรพิจารณาและตรวจเช็คเลข อย. เพื่อความปลอดภัยตรวจสอบรายชื่อครีมอันตราย >> ครีมอันตราย
    รับตรวจสารอันตรายในเครื่องสำอาง หากพบเห็นหรือผลิตภัณฑ์ใส่สารอันตราย ส่งตรวจสารได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ
[cv]