สมุนไพรผสมสเตียรอยด์

แม้ว่าปัจจุบันยาแผนปัจจุบันจะนิยมใช้กันอย่างเผยหลาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายาแผนโบราณหรือสมุนไพรก็เป็นที่นิยมไม่น้อย ด้วยคุณสมบัติการรักษาด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ และประโยชน์ของผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ แต่ล่ะชนิด ที่ใช้บำบัด บำรุงร่างกายมาตั้งแต่สมัยก่อน แต่ในปัจจุบัน พบว่ายาแผนโบราณมักมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งเกิดจากการลักลอบผสมของผู้ผลิตยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยาฉีด ยาเม็ด ยาทาภายนอก ยาตา ยาผง เป็นต้น เพื่อให้เห็นผลไวและเป็นที่พึ่งพอใจกับผู้บริโภค

ประโยชน์ของสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร

  1. ใช้รักษาโรค : สเตียรอยด์จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือโรคนั้นไม่สามารถควบคุมด้วยยาอื่น เนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างแรงจึงไม่ควรใช้พร่ำเพรือ วัตถุประสงค์ของการใช้ เพื่อการบรรเทาอาการอักเสบ ลดอาการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการสมองบวม ลดอาการหอบหืด หยุดการปวดข้อ เอ็น ลดความเครียด ช่วยการเจริญอาหาร ยับยั้งอาการของโรคภูมิแพ้ตัวเอง ใช้กดภูมิคุ้มกัน อย่างโรคผิวหนัง โรคตา และโรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์
  2. ใช้ทดแทนการขาดฮอร์โมน : เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และจากความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า

อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์ในยาสมุนไพร

  1. การติดเชื้อ : การใช้สเตียรอยด์ในยาสมุนไพรปริมาณมาก มีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว
  2. กดการหลั่งฮอร์โมนภายในร่างกาย : การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยาและระยะเวลาในการใช้ยา ทำให้เมื่อหยุดใช้ยานี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. แผลในกระเพาะอาหาร : สเตียรอยด์ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน เพราะสเตียรอยด์จะกดอาการปวด จึงทำให้เกิดอาการรุนแรงก่อนจะพบโรค
  4. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง : สเตียรอยด์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น
  5. กระดูกผุ (Osteoporosis) : การใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้กระดูกผุได้ ดังนั้น ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกระดูกผุอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ, หญิงวัยทอง และคนที่มีประวัติโรคไขกระดูก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
    ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย : เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็ก จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานในขนาดสูง
  6. ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ : ผลของสเตียรอยด์ ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือโปแตสเซียมทางปัสสาวะมาก ซึ่งป้องกันได้โดยให้ลดการกินโซเดียม และกินอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงแทน เช่น ส้ม กล้วย ผู้ที่มีระดับโปแตสเซียมต่ำมาก อาจมีผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้
  7. ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง : การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ
  8. ผลต่อตา : ยาหยอดตาบางชนิดที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจทำให้ตาบอดได้
  9. ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ : สเตียรอยด์มีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushing’s Syndrome ลักษณะที่พบในผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น

    ยาแผนโบราณที่เป็นอันตราย
    ยาแผนโบราณที่เป็นอันตราย

เนื่องจากเราไม่สามารถรับรู้ได้ว่ายาแผนโบราณของเรา หรือยาสมุนไพรผสมสเตียรอยด์มาด้วยหรือไม่ จึงควรตรวจสอบว่ายาที่เรารับประทานอยู่มีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณจากคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ ถ้ายาตัวไหนมีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณจะต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงอยู่บนฉลากยาเสมอ ถ้าเลขทะเบียนตำรับยาขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “G” จะหมายความว่ายาแผนโบราณตัวนี้ผลิตในประเทศไทย หรือ ถ้าขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “K” จะหมายความว่ายาแผนโบราณตัวนี้เป็นยาที่นำเข้ามาในประเทศ และถ้าขึ้นต้นด้วยตัวอักษร”H” จะหมายถึงยาแผนโบราณตัวนี้เป็นยาแบ่งบรรจุ จากนั้นตามด้วยตัวเลขแสดงลำดับการอนุญาต ปี พ.ศ. ที่อนุญาต เช่น เลขทะเบียน G 1068/47 หมายถึง ยาตำรับนี้เป็นยาแผนโบราณที่ ผลิตในประเทศไทยและได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนลำดับที่ 1068 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้น

ทั้งนี้แม้ว่าสเตียรอยด์จะมีประโยชน์จนทำให้ผู้ผลิตยาแนโบราณแอบทำการผสมสเตียรอยด์ในยาสมุนไพร ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย มักพบได้ในยาลูกกลอน หรือยาแผนโบราณที่ขายกับรถเร่ตามหมู่บ้านหรือชุมชนต่างจังหวัดซึ่งยังมีให้เห็นกันอยู่ และทางสาธารณะสุขเร่งตรวจสอบเรื่อยมา

รับตรวจสารอันตรายในยาสมุนไพร หากพบเห็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยหรือลอบใส่สารสเตียรอยด์ในสมุนไพร ส่งตรวจสารอันตรายได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ

 

[cv]