วิธีการทิ้งยาหมดอายุ

ปัญหายาตกค้างในแหล่งธรรมชาติต่างๆ เช่น แม่นํ้า ลําคลอง ทะเลสาป หรือพื้นดิน สามารถพบเจอได้ทั่วโลก ผลกระทบของยาตกค้างในธรรมชาติที่ชัดเจน คือ การทําลายระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในธรรมชาตินั้น ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ต่อมายังมนุษย์ได้ สาเหตุหนึ่งที่สําคัญของปัญหาดังกล่าวคือการทิ้งและทําลายยาอย่างไม่ถูกวิธีในอดีตเรามักจะได้ยินว่าการทิ้งยาสามารถทําได้โดยการบดยาให้เป็นผงและทิ้งลงถังขยะเพื่อนําไปฝังกลบหรือนําไปละลายนํ้าและทิ้งลงสู่ระบบบําบัดนํ้าเสีย แต่ในปัจจุบันพบว่าการกระทําดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดปัญหายาตกค้างในแหล่งธรรมชาติอย่างชัดเจนเนื่องจากยาบางชนิดสามารถผ่านระบบบําบัดและเล็ดลอดสู่ธรรมชาติได้โดยไม่ถูกกําจัดทิ้งสําหรับยาที่ถูกฝังกลบจะละลายออกมาจากพื้นดินลงสู่แหล่งนํ้าตามธรรมชาติได้ต่อไป

สำหรับการจัดการกับยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ หรือยาที่ไม่ใช้แล้วและต้องการทิ้ง

  1. สามารถดูรายละเอียดคำแนะนำวิธีทิ้งยาได้ที่เอกสารกำกับยา แต่ถ้าไม่มีเอกสารกำกับยาหรือไม่มีคำแนะนำวิธีทิ้งยา
  2. แนะนำให้รวมรวบยาดังกล่าวใส่ถุง แล้วนำไปฝากทิ้งที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรืออาจทิ้งเองได้ โดยหากเป็นยาเม็ด ยาแคปซูลแนะนำให้ทุบ บด หรือตัดเม็ดยาให้แตกละเอียดก่อน หากเป็นยาน้ำที่หมดอายุหรือเปลี่ยนสี กลิ่น หรือมีตะกอนผิดไปจากเดิม ให้เทยาออกจากขวดจากนั้นนำยาเม็ด ยาแคปซูล หรือยาน้ำนั้นไปผสมกับแกลบ ขี้เลื่อย ขี้เถ้า หรือดิน ตามที่หาได้ คลุกเคล้าจนเข้ากันดี แล้วนำใส่ถุงหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด พร้อมเขียนข้อความระบุให้ชัดเจนว่าเป็น “ยาหมดอายุ” “ยาเสื่อมสภาพ” “ยาเหลือใช้” ก่อนนำไปทิ้งตามถังขยะที่ชุมชนได้จัดเตรียมไว้ให้ ( ถ้ามี )

หากพิจารณาแล้ว ยา คือ สารเคมีทั่วไปที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรค ดังนั้น การกําจัดยาก็สามารถใช้หลักการการกําจัดของเสียสารเคมีซึ่งนิยมใช้การเผาที่อุณหภูมิสูงร่วมกับการฝังกลบอย่างถูกวิธี

สำหรับยาที่เหลือ ห้ามนำยาที่ไม่ได้ใช้แล้วไปให้ผู้อื่นใช้ต่อ โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากการเจ็บป่วยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจนำไปสู่การใช้ยาไม่เหมาะสมจนเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

ห้ามนำยาไปทิ้งยาลงในถังขยะทั่วไป โดยไม่มีการทำลาย  ด้วยจากอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เก็บยาไปใช้ หรืออาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ รวมถึงอาจเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ ไม่ควรทิ้งยาลงในส้วมหรือชักโครกเด็ดขาด เนื่องจากยาที่ทิ้งลงในส้วมหรือชักโครกจะถูกระบายไปยังท่อน้ำทิ้ง และระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมจนอาจเกิดพิษต่อสัตว์ในน้ำ ปนเปื้อนในน้ำที่นำมาใช้ในเกษตรกรรม  หรือ ตกค้างในแหล่งน้ำที่นำมาผลิตเป็นน้ำประปา และอาจเกิดอันตรายเมื่อเรานำน้ำกลับมาใช้ได้

[cv]