อาหารรอบตัว-สารอันตราย

สืบเนื่องมาจากสารอันตรายในอาหารที่ทางกระทรวงสาธารณสุขออกมาแจ้งเตือน จึงทำให้เกิดการตระหนักของสารอันตรายต่างๆในอาหาร ที่กำลังเป็นเรื่องที่แชร์กันมากในโลกโซเซียลมีอาหารอยู่หลายชนิด ตรวจพบสารอันตรายปนเปื้อน แม้จะมีการเร่งมือตรวจสอบทั้งจากภาครัฐ และเอกชนแล้ว แต่หากเราสามารถป้องกันได้ตั้งแต่เลือกทานให้น้อยลง ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพเราได้อีกทาง ตัวอย่างอาหารหลักๆที่ปนเปื้อนสารอันตรายได้แก่

ไขมันทรานส์-สารอันตราย
สารอันตราย-ไขมันทรานส์
  1. เบเกอรี่ มีไขมันทรานส์
    ไขมันทรานส์เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่พบในอาหารจำพวกแป้ง เช่น เบเกอรี่ต่างๆ หรือเครื่องดื่มที่ใช้ครีมเทียมเป็นส่วนผสม และอาหารประเภททอดที่ใช้ไขมัน อย่าง เฟรนฟรายส์ ไก่ทอด เป็นต้น  และเบเกอรี่ต่างๆ ปัจจุบันมีผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีผลเสียอีกมากมายตามมา ฉะนั้นแล้ว องค์การอนามัยโลก หรือ WHO จึงได้ทำการแนะนำว่าในแต่ละวัน ไม่ควรบริโภคไขมันทรานส์เกิน 1% ของปริมาณแคลอรี่ที่รับเข้าไป

    สารอันตราย-ไก่-ตับ-ยาปฏิชีวนะ
    สารอันตราย-ยาปฏิชีวนะ
  2. อกไก่-ตับไก่ อาจมียาปฏิชีวนะตกค้าง
    มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สุ่มตัวอย่าง อกไก่และตับไก่สด จากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และร้านค้าออนไลน์ทั้งสิ้น 62 ตัวอย่างมาตรวจสอบว่ามียาปฏิชีวนะตกค้างหรือไม่ ผลปรากฏว่ามีทั้งสิ้น 26 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 41.93% โดยมี 5 ตัวอย่างที่พบยาปฏิชีวนะชนิดเอนโรฟลอคซาซิน (Enrolfloxacin) ซึ่งไม่ควรพบในอาหารเลย โดยยาปฏิชีวนะชนิดนี้อาจทำให้เกิดการอาเจียนหรือท้องเสีย และมีอีก 21 ตัวอย่าง ที่พบการปนเปื้อนของยาด็อกซีไซคลิน (Doxycyclin) ซึ่งสารตัวนี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร มีผื่นคันขึ้นบนผิวหนัง และอาจทำให้ฟันมีสีคล้ำ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินจำเป็น ยังอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้นได้ง่ายขึ้นด้วย

    สารอันตราย-ยาฆ่าแมลง-ผัก
    สารอันตราย-ยาฆ่าแมลง
  3. ผัก-ผลไม้ มียาฆ่าแมลงและเชื้อโรคตกค้าง
    กรมอนามัย เตือน ผักสด 10 ชนิดที่มีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูงได้แก่ กวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว พริก แตงกวา กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี ผักบุ้งจีน มะเขือ และผักชี ทั้งนี้ หากได้รับยาฆ่าแมลงตกค้างในปริมาณมากจะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้ออีโคไลและเชื้อซาลโมเนลลา โดยเชื้อเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์และถูกขับถ่ายออกมากับมูลของสัตว์ เมื่อนำปุ๋ยจากมูลสัตว์มาใช้ในการเกษตรเชื้อโรคนี้ก็อาจปนเปื้อนในผลผลิตได้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้ เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างหรือการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ให้ล้างด้วยน้ำไหล โดยแช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านและคลี่ใบผักถูไปมานาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด หรือใช้โซเดียม ไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้ สามารถลดสารเคมีตกค้างจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายได้

    ชาโคล-สารอันตราย
    สารอันตรายในชาโคล
  4. ชาโคลภัยในอาหารและเครื่องดื่ม
    ชาโคลหรือผงไม้ Activated Charcoal ที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะเป็นสีสันและดูแปลกตา แต่ในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้ร้านอาหารห้ามจำหน่ายอาหารที่มีชาโคล เนื่องจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐฯ ชาโคลในอาหารนั้นมีสารต้องห้ามอยู่ ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงดังนี้ ลดการดูดซึมวิตามินของร่างกาย เกิดภาวะแทรกซ้อน ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา ส่งผลต่อระบบ เมทาบอลิก
    อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อกำหนดว่า Activated Charcoal เป็นสารที่สามารถเติมแต่งเพื่อผสมอาหาร แต่หลายคนคิดว่าปลอดภัย จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ซึ่ง Actirated Charcoal ยังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบโดย FDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)

    สารอันตราย-สารก่อมะเร็ง
  5. หมูกระทะ มีสารก่อมะเร็ง
    หมูกระทะเต็มไปด้วยเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป ทั้งไส้กรอก เบคอน ลูกชิ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะใส่ดินประสิวเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้เนื้อมีสีแดงน่ากิน และเพื่อถนอมอาหาร นอกจากนี้ เมื่อดินประสิวทำปฏิกิริยาในกระเพาะอาหารยังส่งผลให้เกิดสารก่อมะเร็งขึ้น อาจทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ขึ้นได้

    บอร์แรกซ์-สารอันตราย
    สารอันตราย-บอแรกซ์
  6. อาหารแปรรูป ใส่สารบอแรกซ์ 

    น้ำประสานทอง หรือผงแซ หรือโซเดียมบอเรต มีหลายชื่อให้เรียก แต่ที่คุ้นหูคงจะเป็นบอแรกซ์ เป็นสารเคมีที่สามารถใช้ได้ทั้งอุตสาหกรรมหลายประเภทและคุณสมบัติของบอแรกซ์ที่นำมาใช้กับอาหารคือทำให้อาหารกรุบกรอบ เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวไม่มีกลิ่น และเป็นสารพิษร้ายแรงที่ถูกสั่งห้ามใส่ในอาหารทุกชนิดตามกฏหมาย ซึ่งจะพบมากในอาหารสำเร็จรูป เบื้องต้นอาจมีอาการอ่อนเพลีย ท้องร่วง หากสะสมเป็นเวลานาน อาจมีผลต่อตับไต จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

    ฟอร์มาลีน-สารอันตราย
    สารอันตราย-ฟอร์มาลีน
  7. อาหารทะเล มักมีสารฟอร์มาลีนปนเปื้อน
    อาหารที่มีการปนเปื้อนฟอร์มาลีนมากที่สุดคืออาหารทะเล เพราะอาหารทะเลที่ทิ้งไว้นานหรือมีความเย็นไม่เพียงพอก็จะเน่าเสีย ผู้ประกอบการหรือชาวประมงจึงมักใช้วิธีแช่ฟอร์มาลีนเพื่อคงสภาพ และยังมีการนำไปใช้รักษาความสดของผัก อย่างขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว หน่อไม้ เป็นต้น หากบริโภคอาหารที่มีฟอร์มาลินสะสมเข้าไปบ่อยๆ จะส่งผลให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง ปากแห้ง คอแห้ง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว อาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น ผิวหนังเป็นผื่นคล้ายลมพิษไปจนถึงผิวหนังไหม้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งตับได้
[cv]